รีวิว เลือดข้นคนจาง เป็นนวนิยายที่ประพันธ์ขึ้น หลังจากสร้างเป็นบทโทรทัศน์ออกอากาศทางช่องวัน 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 เมื่อละครอวสานจึงได้นำเรื่องราวมาประพันธ์มารวมเล่มในรูปแบบนวนิยาย ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2562 ที่น่าสนใจคือในการตีพิมพ์เป็นเล่มนวนิยาย ได้รับกระแสตอบรับจากผู้อ่านจำนวนมาก จนกระทั่งต้องตีพิมพ์ซ้ำในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน คือ ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 รีวิวละครไทย

เปิดประวัติของทีมเขียนบทที่สร้างคดีอื้อฉาวในหน้าจอช่างน่าประหลาดใจ ตรงที่พวกเขาแทบไม่เคยฆ่าตัวละครกันมาก่อน  ย้งทรงยศ สุขมากอนันต์ ผู้กำกับการแสดง

อ้ำ-ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ มีนทศพร เหรียญทอง กันศุภฤกษ์ นิงสานนท์ และแฮมวสุธรปิยารมณ์ ทีมเขียนบทความ ดูหนัง 4k

ผู้กำกับและคนเขียนบทเหล่านี้แหละที่สร้างปรากฏการณ์ให้คนดูติดละครกันทั้งบ้านทั้งเมือง ด้วยละครสนุก พล็อตฉลาดล้ำชวนกุมขมับขบคิดว่าใครหนอที่ก่อเหตุฆาตกรรมอุกอาจในบ้านได้ลงคอ มาพร้อมกับกองทัพนักแสดงมหาศาลทั้งรุ่นเด็กและผู้ใหญ่ที่ปล่อยของชวนติดตามกันเต็มที่

รีวิว เลือดข้นคนจาง

รีวิว เลือดข้นคนจาง ใครฆ่าประเสริฐ?

เลือดข้น คนจาง เป็นเรื่องราวของครอบครัวคนจีนพลัดถิ่น คือ ตระกูลจิระอนันต์ อาม่าปรานี และอากงสุกิจ จิระอนันต์ เป็นคนจีนจากแผ่นดินใหญ่ พวกเขาต่างเดินทางติดตามพ่อแม่เข้ามาตั้งหลักปักฐานในประเทศไทยตั้งแต่ยังเด็ก ทั้งคู่ได้พบรักและสร้างครอบครัวด้วยกัน ต่อมาจึงมีลูกชาย 3 คน คนโตชื่อ ประเสริฐ  เมธ กรกันต์ และลูกสาวอีก 1 คน คือ ภัสสร

ด้วยความที่ปรานีและสุกิจเป็นคนจีนทั้งคู่ครอบครัวนี้จึงยึดแนวปฏิบัติแบบคนจีน คือ ทำธุรกิจทำรูปแบบ ‘กงสี’ ธุรกิจหลักของตระกูล คือ บริหารโรงแรมจิรานันตา ที่กรุงเทพ ฯ และพัทยา กิจการเจริญรุ่งเรืองจนทำให้มีฐานะร่ำรวย ผู้บริหารหลักของโรงแรมคือ ประเสริฐ ลูกชายคนโต และภัสสร ลูกสาวคนที่ 3

รีวิว เลือดข้นคนจาง

เมื่ออากงสุกิจเสียชีวิต เขาได้เขียนพินัยกรรมแบ่งสมบัติตามธรรมเนียมจีนให้กับภรรยาและลูก ๆ ทุกคน หากแต่ว่าภัสสร ลูกสาวผู้เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการบริหารโรงแรมได้รับส่วนแบ่งเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับมรดกที่อากงมอบให้ลูกชาย คือ ลูกชายทุกคน ในจำนวน 3 คน ได้หุ้นส่วนโรงแรมคนละ 25% คิดเป็นเงินประมาณ 750 ล้าน หนำซ้ำ ‘พีท’ หลานชายคนโตของอากง ซึ่งเป็นลูกชายของประเสริฐ

ก็ได้หุ้นส่วน 25% ของโรงแรมในฐานะ “ตั่วซุง” ตามธรรมเนียมจีน ที่มีแนวปฏิบัติว่าลูกชายของลูกชายคนโต มีศักดิ์เป็นลูกคนเล็กของพ่อ (อากง) ส่วนภัสสรได้ส่วนแบ่งเป็นเงินสดเพียง 200 ล้านเท่านั้น การแบ่งมรดกตามพินัยกรรมทำให้ภัสสรไม่พอใจมาก

เวลาผ่านไปไม่นาน ภัสสรทะเลาะกับประเสริฐอย่างรุนแรง เพราะเธออยากเป็นเจ้าของและต้องการถือหุ้นของโรงแรมจิรานันตรา จากนั้นอยู่ ๆ ประเสริฐก็ถูกยิงเสียชีวิตในห้องนอน ที่บ้านของเขา

จุดเริ่มต้นของบทละครเรื่องนี้

โปรเจกต์นี้เริ่มต้นจากโจทย์ของ 9 x 9 ของ 4NOLOGUE ว่าจะทำละครหรือซีรีส์ที่มีเด็กผู้ชายจำนวนมาก เขาไม่ขออะไรมาก เป็นแนวรักวัยรุ่น F4 ก็ได้ เราก็เริ่มคิดถึงซีรีส์วัยรุ่นทั่วไป แต่พี่ย้งก็คิดใหญ่ขึ้น เขารักเด็กๆ เหล่านี้ และรู้สึกว่ามีศักยภาพที่จะเติบโตสู่กลุ่มคนที่กว้างที่สุด เขาไม่ได้อยากฉายให้คนกลุ่มเดิมดู ได้เรตติ้งเท่าเดิม ถ้าอยากจะดันเด็ก ก็ต้องทำให้ดังได้จริงๆ

ทีมเขียนบทอธิบายว่า ซีรีส์ที่เคยทำกันมา อย่าง Hormones วัยว้าวุ่น, I HATE YOU I LOVE YOU หรือซีรีส์กีฬา เป็นภาพยนตร์ชุดที่สร้างจากคอนเซปต์ที่แข็งแรงเป็นแกนหลัก และมักมีตอนจบในแต่ละตอนเป็นประเด็นๆ ไป ต่างจากละครไทยที่นิยมดัดแปลงจากนิยาย มีรูปแบบตอนจบที่ชัดเจนคาดเดาได้

ซีรีส์จะเข้าถึงคนเฉพาะกลุ่ม มีวิธีการเล่าคล้ายภาพยนตร์ เล่าเรื่องด้วยการกระทำ แช่ภาพได้บ้าง ขณะที่ละครจะเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่มากกว่า ละครที่ดึงดูดคนมักมีเรื่องฉูดฉาดอย่างเมียหลวงเมียน้อย ขัดแย้งวิวาท

วิธีคิดละครเรื่อง เลือดข้นคนจาง คือคิดถึงกลุ่มคนดูที่อยากไปถึง แล้วใส่รสชาติลงไป มีดาราผู้ใหญ่ที่คนดูทั่วไปรู้จักเป็นแม่เหล็กดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่โตขึ้น เรียกได้ว่าวัยไหนก็ดูได้ทั้งครอบครัว

เป็นนวนิยายที่ถูกดัดแปลงเป็นบทละครโทรทัศน์

ทำละครสืบสวนแนวญาติพี่น้องห้ำหั่น ปรุงรสด้วยเมโลดราม่าเผ็ดร้อน ทีมเขียนบทก็ลงสืบค้นข้อมูลอย่างถึงพริกถึงขิง โดยเริ่มต้นจากขนบตระกูลคนไทยเชื้อสายจีน แหล่งข้อมูลสำคัญคือผู้กำกับ ย้ง ทรงยศ ตั่วซุงของครอบครัวจีนที่เข้ามาตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเรื่องราวตลอด

สิ่งที่เราพบจากการค้นคว้าคือขนบเป็นต้นตอของปัญหา คนในครอบครัวรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ในเมืองไทยนะ ในเมืองจีนหรือประเทศที่มีคนจีนอยู่มีการให้ความสำคัญลูกชายมากกว่าลูกสาว ลูกสะใภ้ต้องคัดมาอย่างดีเพื่อผลิตหลานชาย ส่วนลูกสาวเดี๋ยวต้องใช้นามสกุลคนอื่น ลูกที่เกิดจากลูกสาวก็เรียกว่าหลานนอก ลูกจากลูกชายเรียกว่าหลานใน

แม้ยังไม่มีเรื่องกงสีเข้ามาก็รู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำอยู่แล้ว ยิ่งเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องอีก คนเรามีเรื่องทะเลาะกันกี่เรื่องเองในชีวิต ก็เรื่องเงิน เรื่องผู้หญิง หน้าที่การงาน ยิ่งเป็นกงสีที่ทำธุรกิจก็จะชัดเจน

ระหว่างที่ค้นคว้าข้อมูลและวางพล็อต โปรเจกต์ 9 X 9 ก็ออดิชันเด็กหนุ่ม 9 คนมาฝึกฝนและทดสอบทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝึกร้องเพลง เต้น และแสดง ไปด้วยพร้อมๆ กัน เมื่อการวางตัวนักแสดงเริ่มนิ่ง ทีมเขียนบทจึงเข้าไปสังเกตเวิร์กช็อปการแสดงของนักแสดงรุ่นใหม่เหล่านี้

คนที่โดดเด่นก็จะเด่นตั้งแต่อยู่ในคลาส คนนี้ดูร้ายๆ คนนี้สุขุม คนนี้ร่าเริง มันเริ่มเห็นชัดขึ้น พอเรารู้ว่ามี 9 คนแน่ๆ เราก็สร้างตัวละครจากเขา

ปมความขัดแย้ง

อาม่าที่บอกว่า “ไม่เคยเลี้ยงลูกให้ฆ่ากัน” เราเห็นทั้งฉากคีบก้ามปูให้ประเสริฐ และเมธ ทิ้งความน้อยเนื้อต่ำใจให้ภัสสร การซื้อของรับขวัญหลานที่ยังไม่เกิดที่ไม่เท่าเทียม และเมื่อคริสแท้งก็เหมือนโดนทอดทิ้ง ซึ่งคริสเป็นสะใภ้จึงไม่ได้โดนกระทำจากอาม่าแบบนี้มาตั้งแต่เกิด ในขณะที่ภัสสรเองก็อยากได้รับความรัก ความเอาใจใส่ เหมือนอย่างตอนที่มีอี้เป็นหลานเพียงคนเดียวต่อไป เมื่อคริสวางยา ภัสสรจึงไม่ได้ห้ามแต่อย่างใด

เรื่องราวของครอบครัวคนจีนพลัดถิ่น

ในขณะเดียวกันตัวประเสริฐเองก็เป็นคนที่เห็นแก่ตัว เราจะเห็นได้จากการตบหน้าภัสสรกลางล็อบบี้โรงแรม ไม่ไว้หน้าน้องแม้แต่น้อย พูดแทงใจดำเมธ ทั้งๆที่เมธก็สมควรเสียใจ แต่กลับบอกให้ปล่อยผ่านไป นอกจากปลาหมอจะตายเพราะปากแล้ว ก็เห็นจะมีประเสริฐนี่แหละ ที่เป็นอีกคนที่ตายเพราะปากและความเห็นแก่ตัวของตัวเอง

และทุกคนก็เลือกที่จะปิดความลับทั้งหมดไว้ เพื่อให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวยังไปได้ต่อได้ แม้ว่าจะมีการนองเลือดในบ้านเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ทิ้งให้เมธจมอยู่กับความเศร้าร่วม 20 ปี ไม่ได้ทำงานทำการใดๆ

การสะท้อนมุมมองของเรื่อง

4 ทายาทตระกูลจิระอนันต์จากบ้านภัสสร ประเสริฐ เมธ และกรกันต์ ที่สะท้อนความเข้มข้นของสายเลือดที่ชัดเจน

อาม่าที่รับผลกรรมแห่งความลำเอียงด้วยการที่ลูกชายที่ตนรักที่สุดสองคน คนหนึ่งโดนยิง อีกคนหนึ่งติดคุก แม้ฉากสุดท้ายจะเหมือนเคลียร์ปมอาม่าและภัสสรด้วยการคีบอาหารให้ และบอกว่าคีบให้ภัสสรคนเดียวไม่แบ่งใคร แม้จะดูเหมือนสำนึกได้ว่าทำให้ลูกน้อยใจ แต่เราก็แอบอดคิดไม่ได้ว่า ก็อาม่าไม่เหลือเฮียๆทั้งสองที่เป็นลูกรักแล้วยังไงล่ะ ถึงได้คีบให้ภัสสร

ธุรกิจหลักของตระกูล คือ บริหารโรงแรมจิรานันตา

แม้ตระกูลจิระอนันต์จะพบกับความสูญเสียและร้าวฉานระดับที่มองหน้ากันไม่ติดไปเป็นปี แต่อาม่ายังอยู่ ทุกคนก็กลับมากินข้าวกันพร้อมหน้า ธุรกิจของครอบครัวก็ยังต้องเดินต่อ บ้านภัสสรยังช่วยบริหารงานกงสีอยู่ ส่วนบ้านพีทและกรกันต์ก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ถ้ายังขัดแย้งกันต่อไป ก็คงไม่ทำให้อะไรดีขึ้น

อาจจะมีบางคู่ที่มองหน้ากันไม่ติดอย่างเหม่เหมกับเต้ย ที่เป็นคู่กรณีกันโดยตรงถึงสองคดี (แอบถ่าย/ป้ายสี) ส่วนกรณีของอี้กับพีท ถ้ามองมุมกลับกันนิดเดียว ต่างคนต่างก็ช่วยเหลือและปกป้องครอบครัวของตัวเอง มันก็ยังเป็นมุมองที่พอรับได้

สุดท้ายแล้วเพื่อให้ชีวิตของทุกคน ครอบครัว และธุรกิจกงสีของตระกูลจิระอนันต์ไปต่อได้ ทุกคนจึงต้องกลับมาคุยกัน ให้อภัยกัน เหมือนที่เมธพูดกับภัสสรว่า ให้อภัยและชีวิตต้องก้าวต่อไป

รีวิว เลือดข้นคนจาง เรื่องราวตอนจบ

เรื่องนี้จบลงที่การเฉลยว่าคนร้ายที่ฆ่าประเสริฐ คือ เมธ น้องชายที่ประเสริฐรักและสนิทสนมที่สุด เมธเป็นคนที่ผู้อ่านมองข้ามตลอดเพราะไม่มีบทบาทอะไรมาก เป็นคนอ่อนไหว อมทุกข์ตั้งแต่ภรรยาเก่าของเขาเสียชีวิต เมธรักและเคารพประเสริฐมาก

แต่เขาพลั้งมือฆ่าประเสริฐเพราะทราบความจริงจากภาพวาดในสมุดบันทึกของอากงว่าคริสภรรยาของประเสริฐเป็นผู้วางยาฆ่าภรรยาของเขาขณะที่ท้องแก่ เพราะคริสเป็นสะใภ้ใหญ่ และอยากมีลูกก่อนเพื่อให้ลูกของเธอได้เป็นหลานคนโต เพราะเธอรู้ว่าตามธรรมเนียมจีนหากเป็นลูกชายของลูกชายคนโตจะได้รับมรดกในฐานะลูกคนเล็กของอากง

รีวิว เลือดข้นคนจาง

ตั้งแต่สืบว่าใครเป็นฆ่าประเสริฐ จนถึงหลักฐานที่ชี้ชัดว่า ฆาตกร คือคนในตระกูลพวกเขา แต่กว่าจะหาตัวฆาตกรเจอ ความรักความสัมพันธ์ในครอบครัวของเขากลับค่อยๆ พังลงยากจนเกินกว่าจะมองหน้ากันติด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความเข้าใจและความให้อภัยของครอบครัว ก็จะเป็นการเยียวยาแผลในใจทุกคนได้เอง

เรียกว่าตลอดการออกอากาศของละคร เลือดข้นคนจาง มีฉากสำคัญๆ ที่สะเทือนใจ สะเทือนอารมณ์คนดูอยู่หลายฉากที่สื่อถึงสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ที่ดูแล้วต้องน้ำตาไหลตาม เราเลยเลือกฉากพีคคลายปมในใจของตอนสุดท้ายจากละคร เลือดข้นคนจาง

บทสัมภาษณ์จากทีมผู้เขียนบทความ

เลือดข้นคนจาง เป็นละคร Soap Opera เรื่องแรกของนาดาว บางกอก

ไม่ใช่ซีรีส์วัยรุ่น ไม่ได้จับแค่กลุ่มคนดูวัยหนุ่มสาวเหมือนเดิม ทั้งที่ผู้กำกับ ทีมเขียนบท และทีมงานล้วนถนัดการทำหนังและซีรีส์ครองใจวัยรุ่นมาตลอด สิ่งที่ทำให้พวกเขาเอาชนะใจผู้ชมกลุ่มใหญ่ครั้งนี้คือการเลือกแข่งในสนามของตัวเอง เขียนงานแบบที่ตัวเองเชื่อและผู้กำกับชอบให้ดีที่สุด

ละครของนาดาวจึงมีลักษณะแบบลูกผสม มีพล็อตเมโลดราม่าหนักๆ แบบละครหลังข่าว ขยี้ขนบที่เป็นปมของคนดู มีการเล่าเรื่องด้วยเสียง ตัวละครพูดเยอะขึ้น ใส่สกอร์เพลงเยอะขึ้น เพื่อดึงความสนใจคน แต่ยังคงรสนิยมแบบหนัง จัดวางภาพประณีต ถ่ายทำอย่างเนี้ยบกริบ และให้ความสำคัญกับการตัดต่อด้วย ภาพที่ออกมาจึงแปลกตาและคราฟต์แบบภาพยนตร์

รีวิว เลือดข้นคนจาง

“ผลตอบรับดีเท่าที่คิดไว้นะ ในความคิดเรา พี่ย้งทำได้อีกแล้ว สิ่งที่เขาพยายามทำให้เกิดขึ้น พอไปถึงคนดู เขาอินกับจุดนี้จริงๆ บางอย่างเราคิดว่าทำไมเขาต้องละเอียดขนาดนี้ อย่างซีนเรียงแถวในงานศพ เรารู้สึกว่าในหนังไม่มีเวลาเล่าลำดับทุกอย่างหรอก แต่พอพี่ย้งบอกว่า ต้องเล่า เราก็เห็นว่า เออ คนอินกับจุดนี้จริงๆ เขารู้ว่าต้องทำยังไงคนถึงจะอินได้ เราเองก็สนุกเหมือนกันที่เห็นว่าพี่ย้งทำอะไรออกมาขายบ้าง หรือเขาพยายามแมสขึ้นยังไง” แฮมเอ่ย

ทีมบทประสานเสียงอย่างมั่นใจว่าเลือดข้นคนจางที่เราได้เห็นไปไม่กี่ตอนเป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น กว่าจะถึงตอนที่ 18 ที่เป็นตอนจบ จะยังมีเรื่องอีกแยะให้ติดตามแน่ๆ

ทุกปัญหามีทางลงของมัน จะมีความหวังในสถาบันครอบครัว เป็นความตั้งใจของพี่ย้งเลย เขาจะไม่จบอย่างหดหู่ ปัญหาจะต้องถูกแก้ได้ เขาบอกว่า ‘กูชอบความหวัง’”

มีนตบท้ายด้วยเสียงหัวเราะ บทสรุปของ เลือดข้นคนจาง จะเป็นอย่างไร เราคงต้องหาคำตอบกันจากในหน้าจอ

แต่สิ่งที่เรามั่นใจตั้งแต่ละครเริ่มฉาย คือการก้าวมาสร้างสิ่งใหม่โดยไม่ยึดติดขนบเดิมของนาดาว บางกอก สร้างความสนุกและกระตุ้นความเปลี่ยนแปลงในวงการละครขึ้นมาอีกครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *